บริษัทฯ มุ่งพัฒนาธุรกิจก๊าซ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและความมุ่งมั่นสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงด้าน พลังงาน และเพิ่มความแข่งขันตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ก๊าซธรรมชาติ
ธุรกิจก๊าซของกัลฟ์ประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลัก คือ จัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติเหลว, สถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว, จัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ
บริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติภายใต้บริษัทย่อย (Gulf LNG) เพื่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้แก่โรงไฟฟ้า SPP ในเครือ 19 โรง ในปริมาณรวม 300,000 ตันต่อปีอีกทั้งยังได้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติภายใต้กิจการร่วมค้า (HKH) เพื่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้แก่โครงการโรงไฟฟ้าหินกอง ในปริมาณรวม 1.4 ล้านตันต่อปี
Gulf MTP ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 70.0 เป็นผู้ได้รับสิทธิพัฒนาและดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือ อุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่3 ช่วงที่1 ในจังหวัดระยอง และได้รับสิทธิในการออกแบบ ก่อสร้างและประกอบกิจการท่า เทียบเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG terminal) โดยสามารถรองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซ ธรรมชาติเหลวได้ถึง 10.8 ล้านตันต่อปี
บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 40.0 ในบริษัท PTT NGD เพื่อลงทุนในการก่อสร้างระบบท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้แก่ลูกค้า อุตสาหกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดระยอง นอกจากนี้บริษัทฯ ถือหุ้นผ่านกิจการร่วมค้า Gulf WHA MT ร้อยละ 35.0 เพื่อดำ เนินธุรกิจจัดจำ หน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อจำ นวน 2 โครงการ (NGD2 และ NGD4) โดยจำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้แก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard)
ก๊าซธรรมชาติคือ ก๊าซชีวภาพชนิดหนึ่งถือเป็นปิโตรเลียมที่อยู่ในสถานะของก๊าซ ซึ่งสามารถค้นพบได้ทั้งบนบกและในทะเล ก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นจากการทับถมกันของซากพืช ซากสัตว์อัดแน่นกันผสมกับกากตะกอนต่าง ๆ ที่ก้นทะเล ภายใต้ความร้อนและแรงกดเป็นเวลานานหลายร้อยล้านปีจนมีการแปรสภาพเป็นของแข็งและของเหลว เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบนั่นเอง ซึ่งลักษณะของก๊าซธรรมชาติจะไม่มีสีไม่มีกลิ่น น้ำหนักเบากว่าอากาศ เผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ไร้เขม่าและไม่มีการเจือปนของสารพิษ
ก๊าซธรรมชาติคือ ก๊าซชีวภาพชนิดหนึ่งถือเป็นปิโตรเลียมที่อยู่ในสถานะของก๊าซ ซึ่งสามารถค้นพบได้ทั้งบนบกและใน ทะเล ก๊าซธรรมชาติเกิดขึ้นจากการทับถมกันของซากพืช ซากสัตว์อัดแน่นกันผสมกับกากตะกอนต่าง ๆ ที่ก้นทะเล ภายใต้ความร้อนและแรงกดเป็นเวลานานหลายร้อยล้านปีจนมีการแปรสภาพเป็นของแข็งและของเหลว เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบนั่นเอง ซึ่งลักษณะของก๊าซธรรมชาติจะไม่มีสีไม่มีกลิ่น น้ำหนักเบากว่าอากาศ เผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ไร้เขม่าและไม่มีการเจือปนของสารพิษ
ก๊าซธรรมชาติจะประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด เมื่อผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซก็จะสามารถนำก๊าซเหล่านี้ไปใช้ ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่เช่น
มีเทน (CH4)
ไม่มีสีไม่มีกลิ่น และเป็นส่วนประกอบหลักของก๊าซธรรมชาติ70-90% มีเทนมีบทบาทสำคัญในการทำความร้อนและการผลิตกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ยังใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสารเคมีอย่างเมทานอลอีกด้วย
อีเทน (C2H6)
ไม่มีสีไม่มีกลิ่น หนักกว่ามีเทน เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อผลิตเอทิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสาร เคมีและพลาสติกอื่น ๆ อีกมากมาย
โพรเพน (C3H8)
หนักกว่ามีเทน และอีเทน สามารถบีบอัดให้เป็นของเหลวที่สามารถขนส่งได้นิยมใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นใน อุตสาหกรรมปิโตรเคมีนอกจากนี้ยังใช้สำหรับการทำ ความร้อนและเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์
บิวเทน (C4H10)
มีโครงสร้าง 2 รูปแบบ คือ n-butane และ iso-butane มักใช้เป็นส่วนประกอบในก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้กันทั่วไปในการทำ ความร้อนและยานพาหนะ อีกทั้งยังนิยมใช้เป็นเชื้อเพลิงในไฟแช็ก และ เป็นสารขับเคลื่อนในสเปรย์ละอองลอย
ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในโรงงาน อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม โดยการให้พลังงาน ความร้อน และเป็นวัตถุดิบที่จำ เป็นสำหรับผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่หลากหลาย เช่น
ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ประกอบด้วยมีเทน 70-90% จึงเผาไหม้ได้สะอาดกว่าเมื่อเทียบกับถ่านหิน มักนำ ไปใช้กับกังหัน หรือเครื่องยนต์สันดาปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เมื่อเกิดการเผาไหม้พลังงานเคมีของก๊าซจะถูกแปลงเป็นพลังงานกล ซึ่งจะ ขับเคลื่อนเครื่องกำ เนิดไฟฟ้าและผลิตกระแสไฟฟ้าในที่สุด ด้วยเหตุนี้ก๊าซธรรมชาติจึงกลายเป็นตัวเลือกยอดนิยมมากขึ้น สำหรับระบบสาธารณูปโภคที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สำหรับวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหมายถึง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสารเคมีและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งก๊าซธรรมชาติ และส่วนประกอบต่าง ๆ โดยเฉพาะอีเทน เป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่จำ เป็นสำหรับปฏิกิริยาเคมีหลายชนิด ซึ่งเป็นสารประกอบ พื้นฐานสำหรับการผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน (PE) เรซิน และสารเคมีอื่น ๆ
ด้วยคุณสมบัติการเผาไหม้ที่สะอาดของก๊าซธรรมชาติจึงมีการนำ ไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ก๊าซธรรมชาติจะถูกใช้โดยตรงในเตาเผา เตาอบ และหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตความร้อนที่จำ เป็นสำหรับกระบวนการต่าง ๆ เช่น การถลุงโลหะ การหลอมแก้ว หรือการกลั่นสารเคมีเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการผลิตไอน้ำ เพื่อขับเคลื่อน กังหันอีกด้วย
สำหรับในภาคเกษตรกรรมก็มีการนำ ก๊าซธรรมชาติมาใช้สังเคราะห์แอมโมเนีย ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในปุ๋ยหลายชนิด ที่ช่วยบำ รุงพืชผลทั่วโลก ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการปฏิรูปด้วยไอน้ำ (Steam Reforming) ซึ่งเป็นวิธีการผลิต ไฮโดรเจน ผสมผสานกับไนโตรเจนจากอากาศทำ ให้เกิดเป็นแอมโมเนีย เนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์แอมโมเนียจะใช้ พลังงานค่อนข้างมาก การเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติจึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้นั่นเอง
ก๊าซธรรมชาติถือเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญและมีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ซึ่งถือเป็นแหล่งพลังงานในการทำ ความร้อน และ ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนยานยนต์ในปัจจุบัน และก๊าซธรรมชาติถือเป็นพลังงานที่สะอาดกว่าเชื้อเพลิงมวลอื่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปล่อยความร้อนสู่บรรยากาศโลกน้อยกว่า และยังมีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมอื่น ๆ รวมถึงช่วยลดการนำ เข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้