โรงไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ของกัลฟ์ผลิตและจำหน่ายไฟให้กับกฟผ. ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะเวลา 25 ปี ในขณะที่โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติขนาดเล็ก มีการผลิตและจำหน่ายไฟให้กับกฟผ. ในปริมาณ 70% - 80% ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) 25 ปี ซึ่งจะเริ่มต้นเมื่อโครงการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยไฟฟ้าที่จำหน่ายให้กับกฟผ. จะกระจายผ่านเครือข่ายสายส่งทั่วประเทศของกฟผ. จากนั้นจึงจำหน่ายต่อไปยังกฟภ. และกฟน. ซึ่งเป็นผู้จ่ายไฟต่อไปยังผู้บริโภคทั่วประเทศ

นอกจากนี้ โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติยังจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเย็นให้กับผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ
ภาพรวม
ในการดำเนินการ
5,800 MW
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
7,766 MW
Thailand
In Operation
Under Construction
Ayutthaya
GUT (IPP : 1,752.40 MW)
GBL (SPP : 126.8 MW)
GBP (SPP : 126.8 MW)
Saraburi
GNS (IPP : 1,653.20 MW)
GKP1 (SPP : 114 MW)
GKP2 (SPP : 114 MW)
GTLC (SPP : 114 MW)
GNK2 (SPP : 133 MW)
GNPM (SPP : 135.20 MW)
Pathumthani
GCRN (SPP : 119 MW)
Ratchaburi
HKP (IPP : 1,540 MW)
Nakorn Ratchasima
GNRV1 (SPP : 128.2 MW)
GNRV2 (SPP : 128.2 MW)
Prachinburi
GNC (SPP : 126.5 MW)
Chachoengsao
GNNK (SPP : 114 MW)
BPP (IPP : 600 MW)
Chonburi
GSRC (IPP : 2,650 MW)
Rayong
GNLL (SPP : 123 MW)
GVTP (SPP : 137 MW)
GTS1 (SPP : 134 MW)
GTS2 (SPP : 134 MW)
GTS3 (SPP : 129.9 MW)
GTS4 (SPP : 129.9 MW)
GNLL2 (SPP : 126.9 MW)
GPD (IPP : 2,650 MW)
Oman
In Operation
Under Construction
Duqm Special Economic Zone
DIPWP (Captive plant : 326 MW)

โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ

การทำงานของโรงไฟฟ้าพลังก๊าซธรรมชาติ จะผลิตไฟฟ้าโดยการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะมีการใช้กังหันก๊าซในการเปลี่ยนพลังงานเชื้อเพลิงเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง และมีหลักการทำงาน แบ่งออกเป็นสามส่วนตามขั้นตอน โดยเริ่มจากการอัดอากาศเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ให้มีความดันสูง และส่งอากาศเข้าไปในห้องเผา เพื่อเผาไหม้เชื้อเพลิง ทำให้เกิดการขยายตัว เกิดแรงดัน และเกิดอุณหภูมิสูงขึ้น และส่งอากาศต่อเข้าไปในส่วนที่เป็นเครื่องกังหันก๊าซ ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนแม่เหล็กเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

ไฟฟ้าถือเป็นพลังงานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับสิ่งต่าง ๆ มากมาย และได้มีการใช้พลังงานอื่น ๆ เพื่อการผลิตไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานความร้อน การนำพลังงานที่แตกต่างเหล่านี้มาแปรรูปให้เป็นไฟฟ้า จึงมีวิธีและกระบวนการที่แตกต่างกันไปประเภทของพลังงาน ทำให้โรงงานผลิตไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการทรัพยากรไฟฟ้าของมนุษย์ได้ ซึ่งแต่ละโรงไฟฟ้าล้วนมีการทำงานและกระบวนการที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าได้